วันพุธที่ 20 กรกฎาคม พ.ศ. 2559

วัดวังก์วิเวการาม โบสถ์ใต้น้ำ กาญจนบุรี

วัดวังก์วิเวการาม โบสถ์ใต้น้ำ กาญจนบุรี

 
วัดบ้านเก่าหรือวัดวังก์วิเวการามเดิมที่จมอยู่ใต้น้ำที่ อ.สังขละบุรี จ.กาญจนบุรี นับเป็นอีกหนึ่งแหล่งท่องเที่ยวชื่อดังที่มีนักท่องเที่ยวอยากจะเข้าไป สัมผัสบรรยากาศที่สุดแสนบริสุทธิ์ และความเป็นธรรมชาติของเมืองแห่งนี้นั้นนอกจากจะเป็นเมืองที่มีป่าเขา ธรรมชาติอันอุดมสมบูรณ์แล้ว ยังมีแม่น้ำซองกาเลียที่กั้นกลางระหว่างเมืองสังขละบุรีฝั่งไทยกับฝั่งมอญ ซึ่งชาวบ้านทั้งสองฝั่งจะได้ข้ามไปมาหาสู่กันด้วย “สะพานมอญ” หรือ “สะพานอุตตมานุสรณ์” นั่นเอง

เมืองสังขละบุรี จ.กาญจนบุรี เดิมทีนั้นตั้งอยู่บนพื้นราบ บริเวณที่เป็นแม่น้ำซองกาเลียที่สามารถมองเห็นในปัจจุบันแต่เมื่อมีการสร้าง เขื่อนน้ำขึ้น ก็มีน้ำท่วมถึงหมู่บ้านต่างๆชาวบ้านจึงต้องพากันอพยพขึ้นมาอยู่ด้านบน และทิ้งเมืองสังขละเก่าให้จมอยู่ใต้น้ำบาดาลแต่หากเมื่อยามน้ำแล้ง น้ำในแม่น้ำและในเขื่อนก็จะลดลงไปมากจนกระทั่งมองเห็นซากเก่าแก่ของวัดและ พื้นที่บางแห่งโผล่พ้นจากน้ำขึ้นมาให้เห็นและนั้นก็คือ วัดบ้านเก่า หรือ วัดวังก์วิเวการาม
สำหรับซากวัดเก่าที่โผล่พ้นน้ำมาในยามหน้าแล้งนี้ ได้กลายเป็นแหล่งท่องเที่ยวอันมีความสำคัญของสังขละบุรี จ.กาญจนบุรี ไปแล้ว และถือเป็นหนึ่งในอันซีนไทยแลนด์ที่สร้างคววามน่าตื่นตาตื่นใจเป็นอย่าง ยิ่งยวด
จากบริเวณสะพานมอญนั้น จะมีร้านค้าหลายร้านที่ให้บริการล่องเรือออกไปเพื่อชมซากวัดเก่าที่ได้จม อยู่ใต้น้ำโดยเรือนั้นจะล่องออกมาตามแม่น้ำซองกาเลียจนกระมั่งมาถึงบริเวณ “สามสบ” หรือ “สามประสบ” ที่เป็นจุดรวมของลำน้ำทั้งสามสาย คือ ซองกาเลีย รันตี และบิคลี่ ตรงมาอีกหน่อยก็จะเป็นบริเวณของวัดวังก์วิเวการามเก่าหรือที่ชาวบ้านเรียก กันว่า “วัดบ้านเก่า” นั่นเอง
“วัดบ้านเก่า” หรือเมืองบาดาลแห่งนี้นี้ เป็นวัดเก่าที่หลวงพ่ออุตตมะได้สร้างขึ้น ก่อนที่จะจมอยู่ใต้ผืนน้ำในเขื่อน แต่ก็จะโผล่พ้นน้ำขึ้นมาให้เห็นในช่วงหน้าแล้งของทุกปี (ส่วนใหญ่มักจะอยู่ในช่วงเดือนมีนาคม-พฤษภาคม) และซากที่ยังคงหลงเหลือให้เห็นอยู่นั้นก็คือ พระอุโบสถหลังเก่า กุฏิของหลวงพ่ออุตตมะ และหอระฆัง

ด้านในโบสถ์วัดบ้านเก่ายังพอมองเห็นร่องรอยเดิมๆอยู่บ้าง แต่เมื่อเหยียบขึ้นบนผืนดินที่บริเวณวัดบ้านเก่าจะมีมัคคุเทศก์ชาวมอญตัว น้อยนิดมาแนะนำวัดบ้านเก่าและพาเข้าไปชมยังสถานที่ต่างๆภายในวัด อย่างที่กุฏิเดิมของหลวงพ่ออุตตมะ มัคคุเทศก์น้อยก็จะช่วยชี้ชวนให้ดูซากเก่าๆที่ยังคงเหลืออยู่ บอกว่าตรงนั้นเอาไว้ใช้ทำอะไรตรงนี้คืออะไรบ้าง แต่ที่น่าสนใจก็คือกุฏิหลังนี้ได้ใช้เหล็กจากทางรถไฟสายมรณะที่ซึ่งไม่ได้ ใช้แล้วมาทำเป็นคานสำหรับสร้างกุฏิ ซึ่งก็ยังมีหลักฐานให้เห็นได้อย่างชัดเจน ถ้าเดินมาอีกนิดก็จะเป็นพระอุโบสถหลังเก่าที่ยังคงมีโครงสร้างบางส่วนให้ เห็นอยู่ ภายในมีภาพถ่ายของหลวงพ่ออุตตมะตั้งอยู่ให้ได้นักท่องเที่ยวมาสักการะกัน

ติดตามความน่าตื่นตาตื่นใจในไทยได้อีกที่ http://travel.sanook.com/

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น